10 สิ่งมีชีวิตในตำนานความเชื่อในวรรณคดีไทย

วันนี้ขอนำท่านไปดู 10 สิ่งมีชีวิตในตำนานความเชื่อในวรรณคดีไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่ว่ากันว่า อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ ไปดูกันค่ะว่ามีอะไรบ้าง

10 สิ่งมีชีวิตในตำนานความเชื่อในวรรณคดีไทย

10.อรหันต์

อรหันต์ เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ชนิดหนึ่ง มีรูปร่างตัวและปีกเป็นนก มี 2 เท้า แต่มีศีรษะเป็นมนุษย์หรือยักษ์ คล้ายกับกินรี โดยปกติมักพบตามภาพจิตรกรรมฝาผนังต่าง ๆ เช่น จิตรกรรมฝาผนังที่อุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร หรือภาพลายรดน้ำตามตู้พระธรรม เป็นต้น

10 สิ่งมีชีวิตในตำนานความเชื่อในวรรณคดีไทย

9.วารีกุญชร

วารีกุญชร เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ มีรูปร่างเป็นช้างแต่มีเท้าเพียง 2 เท้าหน้า ลำตัวและหางเป็นปลาทั้งหมด หรือมีเท้าครบทั้ง 4 เท้า แต่มีหางเป็นปลา (วารีกุญชรที่มี 4 เท้า บางแห่งเรียกกุญชรวารี) อาศัยอยู่ในทะเลสีทันดร สามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้ดี ประวัติของวารีกุญชรไม่มีที่มาอย่างแน่ชัด จิตรกรรมฝาผนังของวารีกุญชรมักเขียนบนฝาผนังของโบสถ์ตามวัดต่าง ๆ เช่น วัดช่องนนทรี หรือวัดคงคาราม เป็นต้น

10 สิ่งมีชีวิตในตำนานความเชื่อในวรรณคดีไทย

8.นกการเวก

ปักษาวายุภักษ์ หรือนกการเวกนั้น เรียกกันอีกชื่อหนึ่งในวรรณคดีเรื่อง ไตรภูมิพระร่วงว่า นกกรวิค อธิบายว่ามีเสียงไพเราะยิ่งนัก สัตว์ทุกชนิดเมื่อได้ยินเสียงนกกรวิคแล้วจะต้องหยุดฟังนอกจากนี้ยังปรากฏมีมาในพระบาลีว่าเสียงของพระพุทธเจ้านั้นเหมือนเสียงพรหม แจ่มใสชัดเจน อ่อนหวาน สำเนียงเสนาะ ไม่แตก ลึกซึ้ง มีกังวาลไพเราะและเหมือนเสียงนกการเวก

ส่วนอาหารของนกการเวกนั้น มีกล่าวไว้ในคัมภีร์ปัญจสุทนีว่า นกการเวก กินน้ำมะม่วงสุกเป็นอาหาร แต่โดยที่นกชนิดนี้หายากหลงเข้าใจกันแต่ว่าอยู่บนท้องฟ้ากินลมเป็นอาหารจึงตั้งชื่อว่า วายุภักษ์ ก็มีเช่นกัน ตามวรรณคดีไตรภูมิพระร่วงนั้น กล่าวว่าขนนกการเวกนั้นเป็นที่ต้องการเพราะกลายเป็นทองคำได้


10 สิ่งมีชีวิตในตำนานความเชื่อในวรรณคดีไทย

7.เงือก

เงือก เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่งตามความเชื่อนิยายปรัมปราเกี่ยวกับน้ำ โดยเป็นจินตนาการเกี่ยวกับสัตว์น้ำ โดยมากจะเล่ากันว่เงือกนั้นเป็นสัตว์ครึ่งมนุษย์ มีส่วนครึ่งท่อนบนเป็นคน ส่วนครึ่งท่อนล่างเป็นปลา ในหลายประเทศทั่วโลก มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับตำนานเงือกมากมาย ความเชื่อในเรื่องดังกล่าว บางคนเสนอว่า บางทีอาจเป็นเพราะผู้คนในสมัยโบราณเข้าใจผิด คิดว่า พะยูน คือเงือกก็เป็นได้

10 สิ่งมีชีวิตในตำนานความเชื่อในวรรณคดีไทย

6.กินรี

กินรี (ตัวเมีย) และ กินร (ตัวผู้) เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ ร่างกายท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก มีปีกบินได้ ตามตำนานเล่าว่าอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ เชิงเขาไกรลาศ นับเป็นสัตว์ที่มีปรากฏในงานศิลปะของไทยมาก ส่วนในวรรณคดีไทยก็มีการอ้างถึงกินรีด้วยเช่นกัน

10 สิ่งมีชีวิตในตำนานความเชื่อในวรรณคดีไทย

5.ม้านิลมังกร

ม้ามังกร หรือ ม้านิลมังกร สัตว์ประหลาดในวรรณคดีไทยเรื่องพระอภัยมณี ตามจินตนาการของสุนทรภู่ ลักษณะของม้านิลมังกร ตัวเป็นม้าหัวเป็นมังกร หางเหมือน ลำตัวเป็นเกล็ดสีดำแวววาว เหมือนดั่งชื่อ กินอาหารได้หลายอย่างดั่งคำกลอน จึงเชื่อว่าสุนทรภู่จินตนาการมาจากกิเลนของจีน ก็เป็นได้ เพราะไม่ปรากฏสัตว์ลักษณะเช่นนี้ในความเชื่อหรือรรณคดีเรื่องใดของไทยมาก่อน อีกทั้งตัวละครและสถานที่ต่าง ๆ ในเรื่อง ก็มีที่มาจากหลายภาคส่วนของแต่ละประเทศอีกด้วย ปัจจุบัน ม้านิลมังกรใช้เป็นทั้งสัญลักษณ์และฉายาของสโมสรฟุตบอลราชนาวี ระยอง ในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก

10 สิ่งมีชีวิตในตำนานความเชื่อในวรรณคดีไทย

4.นารีผล

นารีผล หรือ มักกะลีผล เป็นพรรณไม้ตามความเชื่อจากตำนานป่าหิมพานต์ เป็นพืชที่ออกลูกเป็นหญิงสาว เมื่อผลสุกแล้ว บรรดา ฤๅษี กินรี วิทยาธร คนธรรพ์ เอาไปเสพสังวาส ต้นกำเนิดของนารีผล ตำนานมีอยู่ว่า เมื่อครั้งพระเวสันดรกับพระนางมัทรีพร้อมกับกัณหาและชาลีได้ถูกเนรเทศออกจากนครจึงเดินทางไปสู่ป่าหิมพานต์ และบำเพ็ญเพียร ปฏิบัติธรรมอยู่ที่นั้น ที่ป่าหิมพานต์ มีสัตว์ป่ามากมายอันตรายรอบด้าน ทว่า สัตว์ป่าทั้งหลาย เมื่อได้รับเมตตาจิตจากพระเวสสันดร ก็คลายความดุร้ายลง กลายเป็นมิตร นอกจากสัตว์ป่าทั้งหลายแล้ว ก็ยังมีดาบส ฤๅษี นักสิทธิ์ วิทยาธร คนธรรพ์ ทั้งหลายอาศัยอยู่ หรือไปมาอยู่เรื่อยๆ พระนางมัทรี ผู้มีรูปร่างโสภา บางครั้งออกหาอาหาร หาผลไม้ตามลำพังคนเดียว หากนักสิทธิ์ วิทยาธร ตลอดถึงฤๅษีมาพบเข้า อาจตบะแตก แล้วล่วงศีลได้

10 สิ่งมีชีวิตในตำนานความเชื่อในวรรณคดีไทย

3.ครุฑ

ครุฑ เป็นสัตว์กึ่งเทพในปกรณัมอินเดียและปรากฏในวรรณคดีสำคัญหลายเรื่อง เช่น มหากาพย์ มหาภารตะ เล่าว่า ครุฑเป็นพี่น้องกับนาคและทะเลาะกันจนเป็นศัตรู นอกจากนี้ ยังมีคัมภีร์ปุราณะที่ชื่อว่า ครุฑปุราณะ เป็นเรื่องเล่าพญาครุฑตามคติไทยโบราณ เชื่อว่าครุฑเป็นพญาแห่งนก และเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ปกติอาศัยอยู่ที่วิมานฉิมพลี มีรูปเป็นครึ่งคนครึ่งนกอินทรี ได้รับพรให้เป็นอมตะ ไม่มีอาวุธใดทำลายลงได้ แม้กระทั่งสายฟ้าของพระอินทร์ก็ได้แต่เพียงทำให้ขนของครุฑหลุดร่วงลงมาเพียงเส้นหนึ่งเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ครุฑจึงมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "สุบรรณ" ซึ่งหมายถึง "ขนวิเศษ"

10 สิ่งมีชีวิตในตำนานความเชื่อในวรรณคดีไทย

2.กิเลน

กิเลน เป็นคำที่มาจากภาษาจีนซึ่งเป็นชื่อของสัตว์ชนิดหนึ่งในเทพนิยายของจีนถ้าเป็นตัวผู้เรียกว่า "กี" ถ้าเป็นตัวเมียเรียกว่า "เลน" หรือ "กิเลน" กิเลน ตามตำนานจีนว่ามีรูปร่างเหมือนกวางแต่มีเขาเดียว หางเหมือนวัวหัวเป็นมังกร ตีนมีกีบเหมือนม้า(บางตำราว่ามีตัวเป็นสุนัข ลำตัวเป็นแอนทิโลป) เกิดจากธาตุทั้งห้า คือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ไม้ และโลหะ ผสมกันเชื่อว่ามีอายุอยู่ได้ถึงพันปี และถือว่าเป็นยอดแห่งสัตว์ทั้งหลายเป็นสัญลักษณ์แห่งคุณงามความดีปรากฏให้เห็นเมื่อใด ก็จะเกิดผู้มีบุญมาปกครองบ้านเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุขเมื่อนั้นเช่น ในยุคของฟูซีเป็นผู้ปกครองโลก กิเลนได้ปรากฏตัวขึ้นที่แม่น้ำฮวงโห หลังกิเลนมีลายอักขระจารึก ซึ่งต่อมาได้พัฒนากลายมาเป็นตัวอักษร กิเลนถือเป็นหนึ่งในสี่สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งประกอบด้วย หงส์, เต่า, มังกร และกิเลน

10 สิ่งมีชีวิตในตำนานความเชื่อในวรรณคดีไทย

1.พญานาค

นาค หรือ พญานาค เป็นความเชื่อในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเรียกชื่อต่างๆ กัน แต่มีลักษณะร่วมกัน คือ เป็นงูขนาดใหญ่มีหงอน เป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสู่จักรวาลอีกด้วย ต้นกำเนิดความเชื่อเรื่องพญานาคน่าจะมาจากอินเดีย ด้วยมีปกรณัมหลายเรื่องเล่าถึงพญานาค โดยเฉพาะในมหากาพย์มหาภารตะ นาคถือเป็นปรปักษ์ของครุฑ ส่วนในตำนานพุทธประวัติ ก็เล่าถึงพญานาคไว้หลายครั้งด้วยกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีตำนานเรื่องพญานาคอย่างแพร่หลาย ชาวบ้านในภูมิภาคนี้มักเชื่อกันว่าพญานาคอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง หรือเมืองบาดาล และเชื่อกันว่าเคยมีคนเคยพบรอยพญานาคขึ้นมาในวันออกพรรษาโดยจะมีลักษณะคล้ายรอยของงูขนาดใหญ่

10 สิ่งมีชีวิตในตำนานความเชื่อในวรรณคดีไทย

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์