เคยเห็นยัง...หนังสือเดินทางสำหรับราษฎร ของไทย

ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการบัตรประจำตัวประชาชน ตั้งแต่เริ่มแรกจนปัจจุบัน ความเป็นมาของบัตรประจำตัวประชาชน.......รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม
ในวงเสวนาวันหนึ่งของเหล่ามวลสมาชิกอิสระวัฒนธรรมที่นัดหมายกันมาประชุมประจำเดือน ปรากฏว่าในวาระอื่น ๆ มีการตั้งประเด็นขึ้นว่าประวัติความเป็นมาของบัตรประจำตัวประชาชนเป็นมาอย่างไร ผู้ที่ตั้งประเด็นบอกที่มาของประเด็นว่าหลานที่บ้านกำลังเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1ได้ถามความรู้เรื่องนี้ และตอบไม่ได้ เลยนำประเด็นมาขอให้วงเสวนาได้ช่วยเล่าแจ้งให้สมาชิกทราบก็จะเป็นการเพิ่มเติมความรู้ไปเล่าขานให้หลาน ๆ ได้ฟัง เพื่อจะได้มีคำถามเพิ่มมาในคราวหลัง เพราะถ้าเด็กถามแล้วมีคำตอบมาให้เขาก็จะมีคำถามอีกบ่อย ๆ จะเป็นการสร้างให้ลูกหลานรู้จักการถามในสิ่งที่อยากรู้อยากทราบได้มากขึ้นทำให้เด็กมีความคิดสร้างสรรไปในตัวคำถามและคำตอบที่ได้รับประกอบไปด้วย
ผู้เข้าร่วมเสวนาทั้งหมดหันมองหน้ากันไม่มีใครอ้าปากพูดต่อ ก็เป็นหน้าที่ของประธานที่แจ้งว่าจะรับภาระไปค้นหามาให้และจะนำมาแจ้งในคราวประชุมเดือนถัดไป วันนี้จะเป็นวันยังเหลืออีก 5 วันก็จะถีงวันประชุมเสวนาประจำเดือนถัดไปคือประจำเดือนมิถนายนตามที่ให้สัญญาไว้ ก็เพิ่งจะค้นหาอ่านพบในวันนี้ ในเดลินิวส์ออนไลน์ เราอายุปูนนี้แล้วเพิ่งจะมารู้เรื่องประวัติบัตรประจำตัวประชาชนเพราะจะตอบคำถามที่ฝากมาจากเด็กม.1 มันก็ขำไม่ออกเหมือนกัน วันนี้พบข้อมูลก็เลยโชคดีไปอีกเปราะและที่สำคัญคือได้นำมาฝากมวลสมาชิกในบล็อกนี้ได้อีกด้วยเพราะ บัตรประจำตัวประชาชนเป็นหลักฐานสำคัญที่สุดในการยืนยันตัวบุคคลของผู้มีสัญชาติไทย...รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม ใงละครับ
บัตรประจำตัวประชาชนมีวิวัฒนาการเริ่มจาก “หนังสือเดินทางสำหรับราษฎร” ที่เป็นต้นกำเนิดของบัตรประชาชน เกิดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2457 สมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อประโยชน์ของราษฎรในการแสดงตัวบุคคลว่า เป็นใคร มาจากแห่งหนตำบลใด ทำให้การเดินทางในต่างท้องที่เป็นไปด้วยความสะดวก และเป็นหลักฐานกรณีถูกตรวจค้นตัว ยืนยันและพิสูจน์ว่าเป็นคนบริสุทธิ์ที่ทางราชการรับรองแล้ว ไม่ใช่พวกมิจฉาชีพหรือพวกโจร ต่อมารัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม เกิดแนวคิดทำเอกสารเฉพาะตัวบุคคล จึงออก พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2486 มาบังคับใช้เป็นครั้งแรกเพื่อให้ทำบัตรประชาชนแก่คนไทย แต่บังคับใช้เฉพาะราษฎรในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ซึ่งก็คือกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน

เคยเห็นยัง...หนังสือเดินทางสำหรับราษฎร ของไทย

บัตรประจำตัวประชาชน รุ่นที่ 1

เคยเห็นยัง...หนังสือเดินทางสำหรับราษฎร ของไทย

บัตรประชาชน รุ่นแรกเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า พับเป็น 4 ตอนขนาด 3 คูณ 4 นิ้ว คล้ายบัตรยืมหนังสือของห้องสมุด มี 8 หน้า ปกหน้ามีรูปครุฑและ คำว่า “บัตรประจำตัวประชาชน” พร้อมเลขทะเบียนที่ออกบัตร ปกหลัง เป็นคำเตือนสำหรับผู้ถือบัตร เช่น ต้องพกติดตัวและแสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้เสมอ หน้า 1 ปิดรูปถ่ายผู้ถือบัตรขนาด 2 นิ้วพร้อมลายมือและลายพิมพ์นิ้วหัวแม่มือขวา นอกจากนี้แต่ละหน้ายังมีข้อมูลส่วนตัวของผู้ถือบัตรละเอียดยิบ เช่น ตำหนิแผลเป็นและชื่อบิดา-มารดา อายุบัตร 10 ปี ให้ผู้มีอายุ 16 ปี จนถึง 70 ปีบริบูรณ์ต้องมีบัตร บัตรหมดอายุเสียค่าธรรมเนียมไม่เกิน 25 สตางค์

เคยเห็นยัง...หนังสือเดินทางสำหรับราษฎร ของไทย


เคยเห็นยัง...หนังสือเดินทางสำหรับราษฎร ของไทย

บัตรประชาชนรุ่นที่ 2
บัตรประชาชนรุ่นแรกใหญ่มีขนาดที่พกพาไม่สะดวก อีกทั้งวิธีการจัดทำบัตรล้าสมัย เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ออกบัตรประชาชนรุ่นที่ 2 ขึ้น เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2506 เป็นบัตรรูปขาว-ดำสี่เหลี่ยมผืนผ้า เคลือบพลาสติกใส กว้าง 6 ซม. ยาว 9 ซม. พกพาสะดวก รายการผู้ถือบัตร พิมพ์ด้วยพิมพ์ดีดธรรมดา พร้อมขยายอายุผู้มีบัตร 17 ปีแต่ไม่เกิน 70 ปี อายุบัตร 6 ปี ค่าธรรมเนียมในการ ออกบัตรและเปลี่ยนบัตร 5 บาท เมื่อกำหนดอายุผู้มีบัตร 17 ปีไม่สอดคล้องกฎหมายคุ้มครองแรงงาน อีก ทั้งกำหนดให้นับอายุตามปี พ.ศ. ทำให้จำนวนประชาชนผู้ยื่นคำขอมีบัตรประชาชน มากมายในช่วงวันที่ 1 มกราคม ถึงสิ้นเดือน กุมภาพันธ์ ของทุกปี ทำให้การบริการประชาชนไม่ทั่วถึง

สมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงออก พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาบังคับแทน มีผลตั้งแต่วันที่ 21 เม.ย. 2526 จนถึงปัจจุบัน โดยลดอายุผู้มีบัตรจาก 17 ปี เหลือ 15 ปี และขยายเวลาการขอมีบัตรจาก 60 วัน เป็น 90 วัน พร้อมขยายอายุการใช้บัตรจาก 70 ปีบริบูรณ์ เป็นจนกว่าผู้ถือบัตรจะเสียชีวิต แต่รูปแบบบัตรก็ยังเหมือนเดิม

เคยเห็นยัง...หนังสือเดินทางสำหรับราษฎร ของไทย


เคยเห็นยัง...หนังสือเดินทางสำหรับราษฎร ของไทย

บัตรประชาชนเป็นรุ่นที่ 3

เคยเห็นยัง...หนังสือเดินทางสำหรับราษฎร ของไทย


เคยเห็นยัง...หนังสือเดินทางสำหรับราษฎร ของไทย

บัตรประชาชนรุ่นที่ 4
เมื่อกลุ่มบุคคลต่างด้าวเข้ามาอยู่ในประเทศไทยมากขึ้น การปลอมแปลงบัตรประชาชนระบาดหนัก อีกทั้งจากความล่าช้าในการออกบัตรที่ยังใช้แรงงานคน ในที่สุด คณะรัฐมนตรีสมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้มีมติเมื่อวันที่ 30 เมษายน2529 เห็นชอบให้ผลิตบัตรประชาชนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการพลิกโฉมหน้าบัตรประชาชนเป็นรุ่นที่ 3 เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1มกราคม 2531 บัตรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 5.4 ซม. ยาว 8.4 ซม. คล้ายรุ่นที่ 2 ที่โดดเด่นคือรูปถ่ายเจ้าของบัตรเป็นรูปพิมพ์สี และเคลือบวัสดุพิเศษป้องกันการปลอมแปลง จากนั้นก็มีบัตรประชาชนรุ่นที่ 4 ออกมาที่เรียกว่าบัตรประชาชนไฮเทคหรือบัตรแบบแถบแม่เหล็ก มีลักษณะคล้ายบัตรเครดิต กว้าง 5.4 ซม. ยาว 8.6 ซม. พื้นบัตร 2 ด้านเป็นสีขาว มีลายสีฟ้า ด้านหน้าของบัตรมีรูปถ่าย พร้อมรายการประวัติของเจ้าของบัตร ที่ระบุหมู่โลหิตเจ้าของบัตรเพิ่มมาด้วย รวมทั้งใช้แถบแม่เหล็กบันทึกข้อมูลผู้ถือบัตรและควบคุมรหัสการออกบัตร ผลิตด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ประชาชนที่มาทำบัตรรอรับการบริการได้ทันทีภายในวันเดียวที่มายื่นทำบัตร โดยไม่ต้องรอใช้ใบเหลืองที่เป็นใบทดแทนบัตรประชาชนระหว่างรอบัตรใช้บัตรประชาชนไฮเทคที่จังหวัดปทุมธานีและในกรุงเทพฯ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2539

เคยเห็นยัง...หนังสือเดินทางสำหรับราษฎร ของไทย

บัตรประจำตัวประชาชนอเนกประสงค์ (Smart Cardz) รุ่นที่ 1

เคยเห็นยัง...หนังสือเดินทางสำหรับราษฎร ของไทย

บัตรประจำตัวประชาชนอเนกประสงค์ (Smart Cardz) รุ่นที่ 2

เคยเห็นยัง...หนังสือเดินทางสำหรับราษฎร ของไทย

บัตรประจำตัวประชาชนอเนกประสงค์ (Smart Cardz) รุ่นที่ 3

เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาเป็นนายกรัฐมนตรี ได้คิดทำบัตรประชาชนสมาร์ทการ์ด นำร่องกลางปี 2547 มีรูปแบบคล้ายบัตรประชาชนรุ่นที่ 4 เพิ่มไมโครชิพบันทึกข้อมูล และเพิ่มรายการเจ้าของบัตรมีชื่อสกุลภาษาอังกฤษ ดำเนินการโดยสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่ลงนามบันทึกข้อตกลงกับ 94 หน่วยงานเชื่อมโยงการใช้ข้อมูล ใช้สมาร์ทการ์ดใบเดียวไม่ต้องพกบัตร หลายใบ เช่น บัตรประกันสังคม บัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล การใช้บัตรประชาชนต่อใบอนุญาตหนังสือเดินทางโดยไม่ต้องใช้ทะเบียนบ้าน อนาคตขยายการเชื่อมต่อข้อมูลในบัตรกับส่วนราชการอื่น ๆ มาจนกระทั่งปัจุบัน 

แต่อย่างไรก็ตามปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับบัตรประชาชนก็ยังมีมาตลอดเพราะเทคโนโลยีทันสมัยขึ้นการจัดทำและการปลอมแปลงยังไม่มีจุดจบ และที่เหลือเชื่อ ณ วันนี้ก็คือการผลิตบัตรมารองรับการทำบัตรของประชาชนไม่เพียงพอกับคำขอจัดทำ และหลายๆแหล่งความคิดเลยมีคำถามตามมาว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับยุคเทคโนโลยีนี้ที่ปล่อยให้เรื่องเช่นนี้เกิดขึ้น.....แต่ที่ผมสบายใจก็คือผมจะได้นำข้อมูลประวัติการทำบัตรประชาชน ไปนำแจ้งในวงเสวนาเพื่อตอบคำถามของลูกหลานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ที่ฝากถามมาได้ ก็ถือว่าโชคดี เพราะผมอยากได้คำถามจากใครก็ได้จะทำให้ผมได้ความรู้เพิ่มขึ้นจากเรื่องที่ไม่เคยได้ยินได้ฟัง เพราะจะได้ค้นหาอ่านแล้วนำมาสรุปให้สาระน่าอ่านหรือทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น และต่อมาจะได้แบ่งปันผู้อื่นด้วย มีความสุขที่ไม่สามารถอธิบายได้...ไม่เชื่อลองทำเหมือนผมซิครับ

เคยเห็นยัง...หนังสือเดินทางสำหรับราษฎร ของไทย

ที่มา: thaigogenius


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์