เปิดประวัติ “ขุนพิทักษ์ฯ” เจ้าของ “บ้านเขียว” อยุธยา บ้านผีสิงสุดหลอนในตำนาน อายุกว่า 100 ปี
หน้าแรกTeeNee เรื่องลึกลับ Xfile ตำนาน เรื่องเล่าจากโบราณ เปิดประวัติ “ขุนพิทักษ์ฯ” เจ้าของ “บ้านเขียว” อยุธยา บ้านผีสิงสุดหลอนในตำนาน อายุกว่า 100 ปี
สวัสดีค่ะเพื่อนๆ วันนี้เราจะเพื่อนๆ มามาชมเรื่องราวหลอนๆเกี่ยวกับบ้านผีสิงกันค่ะ หลายท่านคงจะเคยได้ยินตำนานความหลอนของ บ้านเขียว บ้านเก่าแก่อายุกว่า 150 ปี ของท่านขุนพิทักษ์บริหาร และท่านย่าจ่าง มิลินทวณิช ตั้งอยู่ในพิกัด อ.ผักไห่ พระนครศรีอยุธยา ติดริมแม่น้ำน้อย ซึ่งในประวัติเคยใช้เป็นสถานที่ประทับในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ในการเสด็จเยี่ยมเยือนราษฎร และท่านย่าจ่างได้มอบให้เป็นสมบัติของแผ่นดินในเวลาต่อมา
สมัยรัชกาลที่ 5 ขุนพิทักษ์บริหาร (พึ่ง มิลินทวนิช) เป็นนายแขวงเสนาใหญ่ คืออำเภอผักไห่ในปัจจุบัน (เคยเข้ารับใช้พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ด้วย) ภรรยาคือนางจ่าง มิลินทวนิช ขุนพิทักษ์ฯเป็นเจ้าของกิจการเรือสองชั้นที่เรียกว่าเรือเขียว ซึ่งเป็นเรือโดยสารขนาดใหญ่ (มีจำนวน 10 กว่าลำ) รับส่งผู้โดยสารระหว่างผักไห่-ท่าเตียน กรุงเทพฯ และผักไห่-ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ ทำให้การค้าขายบริเวณนี้ เจริญรุ่งเรือง (เมื่อมีการทำประตูทดน้ำในแม่น้ำเรือจึงไม่สามารถแล่นได้ ประกอบกับถนนหนทางเจริญขึ้นกิจการเดินเรือจึงเลิกไป)
ตระกูลขุนพิทักษ์ฯเป็นตระกูลใหญ่ ขุนพิทักษ์ฯมีบุตรทั้งหมด 6 คน มีหลานอีกหลายคน บุตรคนโตคือนางทองคำ มิลินทวนิช (นางทองคำมีบุตร 3 คน คือคุณใหญ่ คุณกลางหรือยายอุดมวรรณ และคุณจิ๋วหรือยายสมพร) บุตรคนที่ 2 คือนางบุญมี คนที่ 3 คือนายโกย 4 คือหลวงมิลินทวนิช 5 นางวงศ์ ซึ่งเป็นภรรยาของหลวงพร้อมธีระพันธ์ ผู้บังคับการเรือหลวงธนบุรีเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และคนที่ 6 นางยูร คุณยายสมพร มิลินทวนิช อายุ78 ปี และคุณยายอุดมวรรณ มิลินทวนิชอายุ 80 ปี สองพี่น้องซึ่งเป็นหลานสาว(หลานตา)ของขุนพิทักษ์ฯ แต่ใช้นามสกุลของตา (เป็นบุตรนายเติมกับนางทองคำโดยนางทองคำเป็นลูกสาวคนโตของขุนพิทักษ์) ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 563 ซอยลาดพร้าว 130 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ เล่าว่าขุนพิทักษ์ฯเกิดที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา
ส่วนภรรยา (นางจ่าง)เป็นคนอำเภอผักไห่ สมัยตนเป็นเด็กบ้านของตนเป็นแพอยู่ริมน้ำหน้าบ้านขุนพิทักษ์ฯ ตนผูกพันกับบ้านหลังนี้มาตั้งแต่เด็ก วิ่งขึ้นลงคลุกคลีกับคนในบ้านมาตลอด หลังจากยกให้หลวงแล้วตนกลับมาดูบ้านหลังนี้ทุกปี เนื่องจากมีที่นาและญาติพี่น้องอยู่ที่อยุธยา แต่หลายปีหลังนี่ไม่ได้มา
บ้านของขุนพิทักษ์บริหารเป็นบ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 5 อายุเกินกว่า 100 ปี สถาปัตยกรรมเป็นบ้านไทยที่ได้รับอิทธิพลทางตะวันตก ซึ่งน่าสนใจมาก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน้อย (ด้านหลังติดกับถนนในหมู่บ้าน ) หมู่ที่ 2 ตำบลอมฤต อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (เดินทางจากตัวอำเภอผักไห่ไปทางทิศเหนือตามถนนลาดยาง เพียง 3 กิโลเมตรเลี้ยวขวาเข้าไปในบริเวณวัดอมฤต แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านโรงสีเข้าไป)
บริเวณที่ตั้งมีเนื้อที่ทั้งหมด 1 ไร่ 72 ตารางวา ด้านหลังบ้านที่ติดกับถนนปักป้ายประกาศว่าเป็นที่ดินราชพัสดุของ กรมธนารักษ์ ลักษณะบ้านเป็นบ้านทรงปั้นหยาสองชั้นยกพื้นสูง ปลูกสร้างด้วยไม้สัก (บางส่วนเป็นตึก) ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า"บ้านเขียว" (เพราะเดิมทาสีเขียว เนื่องจากขุนพิทักษ ์เกิดวันพุธ) หลังคามุงกระเบื้องสีน้ำตาลเข้ม สภาพภายในยังแข็งแรง แต่สภาพภายนอกทรุดโทรม ประตูหน้าต่างมีลวดลายแกะสลักอย่างประณีตบรรจง พื้นเป็นกระดานไม้สักแผ่นใหญ่ ชั้นล่างมีห้องโถงใหญ่ 1 ห้อง (มีตู้ไม้สัก 3 หลัง) ห้องเล็ก 2 ห้อง (ในห้องเล็กใกล้ระเบียงหลังบ้าน มีตู้เหล็กนิรภัย สูงถึง 1 เมตร ปิดล็อกไว้) และห้องใต้บันไดอีก 1 ห้อง ส่วนชั้นบนมีห้องโถง 1 ห้อง ห้องเล็ก 3 ห้อง และห้องซอยด้านหลังอีก 1 ห้อง ในห้องเล็กที่ใกล้กับทางลงมีห้องแยกออกไปอีก เป็นห้องที่ใช้ประตูเดียวกับห้องแรก ภายในห้องแยกมีห่วงเหล็กเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็ก 1 นิ้วตรึงอยู่กับพื้นมุมห้อง ใช้สำหรับล็อกโซ่ล่ามกำปั่นสมบัติ (ปัจจุบันยังสามารถหาดูห่วงเหล็กลักษณะนี้ได้ในเรือนเก่าหลังอื่น ๆเช่นเรือนหลังกลางของนายแป้น สุดสนอง เลขที่ 23 หมู่ที่ 5 ตำบลผักไห่ อำเภอผักไห่)
หน้าต่างและประตูใช้กลอนไม้แบบโบราณ ด้านหน้ามีสะพานไม้เชื่อมไปที่ศาลาใหญ่ริมแม่น้ำ และเรือนพักคนรับใช้หลังเล็ก (นายฟื้น ผู้ดูแลบ้านคนสุดท้ายมีอาชีพทำขนมจีนขาย ได้เสียชีวิตที่เรือนหลังเล็กนี้ หลังจากนายฟื้นเสียชีวิต นางวาสน์ซึ่งเป็นภรรยานายฟื้นและเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต ได้ย้ายไปอยู่บ้านพักคนชรา และไม่มีใครพบอีกเลย ส่วนเรือนหลังใหญ่ไม่ปรากฏว่า เคยมีผู้เสียชีวิตในเรือน แม้แต่ขุนพิทักษ์ฯเมื่อชราภาพใกล้สิ้นอายุขัย ได้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯระยะหนึ่ง จึงเดินทางกลับบ้านทางเรือ และสิ้นชีวิตในเรือระหว่างเดินทาง)
หลังจากขุนพิทักษ์ฯสิ้นชีวิตแล้ว ลูกหลานย้ายไปอยู่ภูมิลำเนาอื่น ส่วนใหญ่อยู่ที่กรุงเทพฯ แม่จ่าง ภรรยาท่านขุนจึงได้ยกบ้านให้หลวง เป็นที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์ เมื่อ พ.ศ. 2505 โดยกระทรวงมหาดไทยได้มอบเข็มชั้นเครื่องหมายทองประดับเพชรให้กับนางจ่างด้วย นายเม่งชง แซ่โต๋ว อายุ 82 ปี เจ้าของร้านชงโภชนา ตลาดผักไห่ เล่าว่า สมัยที่ตนอายุ 10 ขวบ เคยพายเรือผ่านไปขายของ บ้านหลังนี้มีบริวารอาศัยอยู่มาก ในงานวันเกิดของแม่จ่าง ภรรยาขุนพิทักษ์ จะมีภรรยาของท่านจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม เดินทางมาร่วมงานทุกปี
ดร.ดนัย มิลินทวนิช ซึ่งมีศักดิ์เป็นเหลนของขุนพิทักษ์ เล่าว่ามีบันทึกในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในการเสด็จประพาสต้นลำน้ำคลองมะขามเฒ่า ได้กล่าวถึงช่วงหนึ่งว่าพระองค์ทรงเสด็จประพาสมาตามลำแม่น้ำน้อยนี้ และได้ทรงประทับที่บ้านของนางจ่าง มิลินทวนิช ซึ่งก็คือภรรยาของขุนพิทักษ์ฯ นายชัยกร นิยมไกร ชาวบ้านที่อยู่ฝั่งตรงข้ามบ้านขุนพิทักษ์ฯ กล่าวว่าบิดาของตนเคยเล่าให้ฟังว่าขุนพิทักษ์เป็นคนยิ่งใหญ่พอสมควร สมัยที่ขุนพิทักษ์ฯมีชีวิตอยู่ ได้จัดทอดกฐินและแข่งเรืออย่างใหญ่โตทุกปี ในวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 12 (วันงานไหว้วัดอมฤต)
ห่างจากบ้านขุนพิทักษ์ประมาณ 1 กิโลเมตร มี "บ้านตึก" ซึ่งเป็นบ้านโบราณอยู่ริมแม่น้ำน้อยเช่นกัน อีก 1 หลัง ซึ่งเป็นบ้านของขุนวารีโยธารักษ์ นายอำเภอคนแรกของอำเภอผักไห่ (สมัยนั้นเรียกว่าอำเภอเสนาใหญ่) สมัยรัชกาลที่ 5 เคยใช้เป็นที่ว่าการอำเภอเสนาใหญ่ และออกว่าความตัดสินคดี มีการจองจำนักโทษที่เรือนด้านหลัง (รื้อถอนไปแล้ว) เรือนใหญ่ที่ชาวบ้านเรียกว่าบ้านตึกนี้ เป็นบ้านไม้ชั้นเดียวยกพื้นสูง ในเนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน 18 ตารางวา หลังคาทรงปั้นหยา มีลวดลายแกะสลักสวยงาม ชั้นล่างมีการก่ออิฐล้อมเป็นผนังแบ่งเป็นช่อง ๆ คล้ายกำแพง ปัจจุบันบ้านตึกอยู่ในที่ดินโฉนดของนางย้อย วิภาตะศิลปิน บุตรของขุนวารีโยธารักษ์สมัยรัชกาลที่ 5 ขุนพิทักษ์บริหาร (พึ่ง มิลินทวนิช)เป็นนายแขวงเสนาใหญ่ คืออำเภอผักไห่ในปัจจุบัน (เคยเข้ารับใช้พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ด้วย) ภรรยาคือนางจ่าง มิลินทวนิช ขุนพิทักษ์ฯเป็นเจ้าของกิจการเรือสองชั้นที่เรียกว่าเรือเขียว ซึ่งเป็นเรือโดยสารขนาดใหญ่ (มีจำนวน 10 กว่าลำ) รับส่งผู้โดยสารระหว่างผักไห่-ท่าเตียน กรุงเทพฯ และผักไห่-ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ ทำให้การค้าขายบริเวณนี้ เจริญรุ่งเรือง (เมื่อมีการทำประตูทดน้ำในแม่น้ำเรือจึงไม่สามารถแล่นได้ ประกอบกับถนนหนทางเจริญขึ้นกิจการเดินเรือจึงเลิกไป)
ตระกูลขุนพิทักษ์ฯเป็นตระกูลใหญ่ ขุนพิทักษ์ฯมีบุตรทั้งหมด 6 คน มีหลานอีกหลายคน บุตรคนโตคือนางทองคำ มิลินทวนิช (นางทองคำมีบุตร 3 คน คือคุณใหญ่ คุณกลางหรือยายอุดมวรรณ และคุณจิ๋วหรือยายสมพร) บุตรคนที่ 2 คือนางบุญมี คนที่ 3 คือนายโกย 4 คือหลวงมิลินทวนิช 5 นางวงศ์ ซึ่งเป็นภรรยาของหลวงพร้อมธีระพันธ์ ผู้บังคับการเรือหลวงธนบุรีเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และคนที่ 6 นางยูร คุณยายสมพร มิลินทวนิช อายุ78 ปี และคุณยายอุดมวรรณ มิลินทวนิชอายุ 80 ปี สองพี่น้องซึ่งเป็นหลานสาว(หลานตา)ของขุนพิทักษ์ฯ แต่ใช้นามสกุลของตา (เป็นบุตรนายเติมกับนางทองคำโดยนางทองคำเป็นลูกสาวคนโตของขุนพิทักษ์) ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 563 ซอยลาดพร้าว 130 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ เล่าว่าขุนพิทักษ์ฯเกิดที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา
ส่วนภรรยา (นางจ่าง)เป็นคนอำเภอผักไห่ สมัยตนเป็นเด็กบ้านของตนเป็นแพอยู่ริมน้ำหน้าบ้านขุนพิทักษ์ฯ ตนผูกพันกับบ้านหลังนี้มาตั้งแต่เด็ก วิ่งขึ้นลงคลุกคลีกับคนในบ้านมาตลอด หลังจากยกให้หลวงแล้วตนกลับมาดูบ้านหลังนี้ทุกปี เนื่องจากมีที่นาและญาติพี่น้องอยู่ที่อยุธยา แต่หลายปีหลังนี่ไม่ได้มา
บ้านของขุนพิทักษ์บริหารเป็นบ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 5 อายุเกินกว่า 100 ปี สถาปัตยกรรมเป็นบ้านไทยที่ได้รับอิทธิพลทางตะวันตก ซึ่งน่าสนใจมาก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน้อย (ด้านหลังติดกับถนนในหมู่บ้าน ) หมู่ที่ 2 ตำบลอมฤต อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (เดินทางจากตัวอำเภอผักไห่ไปทางทิศเหนือตามถนนลาดยาง เพียง 3 กิโลเมตรเลี้ยวขวาเข้าไปในบริเวณวัดอมฤต แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านโรงสีเข้าไป)
บริเวณที่ตั้งมีเนื้อที่ทั้งหมด 1 ไร่ 72 ตารางวา ด้านหลังบ้านที่ติดกับถนนปักป้ายประกาศว่าเป็นที่ดินราชพัสดุของ กรมธนารักษ์ ลักษณะบ้านเป็นบ้านทรงปั้นหยาสองชั้นยกพื้นสูง ปลูกสร้างด้วยไม้สัก (บางส่วนเป็นตึก) ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า"บ้านเขียว" (เพราะเดิมทาสีเขียว เนื่องจากขุนพิทักษ ์เกิดวันพุธ) หลังคามุงกระเบื้องสีน้ำตาลเข้ม สภาพภายในยังแข็งแรง แต่สภาพภายนอกทรุดโทรม ประตูหน้าต่างมีลวดลายแกะสลักอย่างประณีตบรรจง พื้นเป็นกระดานไม้สักแผ่นใหญ่ ชั้นล่างมีห้องโถงใหญ่ 1 ห้อง (มีตู้ไม้สัก 3 หลัง) ห้องเล็ก 2 ห้อง (ในห้องเล็กใกล้ระเบียงหลังบ้าน มีตู้เหล็กนิรภัย สูงถึง 1 เมตร ปิดล็อกไว้) และห้องใต้บันไดอีก 1 ห้อง ส่วนชั้นบนมีห้องโถง 1 ห้อง ห้องเล็ก 3 ห้อง และห้องซอยด้านหลังอีก 1 ห้อง ในห้องเล็กที่ใกล้กับทางลงมีห้องแยกออกไปอีก เป็นห้องที่ใช้ประตูเดียวกับห้องแรก ภายในห้องแยกมีห่วงเหล็กเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็ก 1 นิ้วตรึงอยู่กับพื้นมุมห้อง ใช้สำหรับล็อกโซ่ล่ามกำปั่นสมบัติ (ปัจจุบันยังสามารถหาดูห่วงเหล็กลักษณะนี้ได้ในเรือนเก่าหลังอื่น ๆเช่นเรือนหลังกลางของนายแป้น สุดสนอง เลขที่ 23 หมู่ที่ 5 ตำบลผักไห่ อำเภอผักไห่)
หน้าต่างและประตูใช้กลอนไม้แบบโบราณ ด้านหน้ามีสะพานไม้เชื่อมไปที่ศาลาใหญ่ริมแม่น้ำ และเรือนพักคนรับใช้หลังเล็ก (นายฟื้น ผู้ดูแลบ้านคนสุดท้ายมีอาชีพทำขนมจีนขาย ได้เสียชีวิตที่เรือนหลังเล็กนี้ หลังจากนายฟื้นเสียชีวิต นางวาสน์ซึ่งเป็นภรรยานายฟื้นและเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต ได้ย้ายไปอยู่บ้านพักคนชรา และไม่มีใครพบอีกเลย ส่วนเรือนหลังใหญ่ไม่ปรากฏว่า เคยมีผู้เสียชีวิตในเรือน แม้แต่ขุนพิทักษ์ฯเมื่อชราภาพใกล้สิ้นอายุขัย ได้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯระยะหนึ่ง จึงเดินทางกลับบ้านทางเรือ และสิ้นชีวิตในเรือระหว่างเดินทาง)
หลังจากขุนพิทักษ์ฯสิ้นชีวิตแล้ว ลูกหลานย้ายไปอยู่ภูมิลำเนาอื่น ส่วนใหญ่อยู่ที่กรุงเทพฯ แม่จ่าง ภรรยาท่านขุนจึงได้ยกบ้านให้หลวง เป็นที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์ เมื่อ พ.ศ. 2505 โดยกระทรวงมหาดไทยได้มอบเข็มชั้นเครื่องหมายทองประดับเพชรให้กับนางจ่างด้วย นายเม่งชง แซ่โต๋ว อายุ 82 ปี เจ้าของร้านชงโภชนา ตลาดผักไห่ เล่าว่า สมัยที่ตนอายุ 10 ขวบ เคยพายเรือผ่านไปขายของ บ้านหลังนี้มีบริวารอาศัยอยู่มาก ในงานวันเกิดของแม่จ่าง ภรรยาขุนพิทักษ์ จะมีภรรยาของท่านจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม เดินทางมาร่วมงานทุกปี
ดร.ดนัย มิลินทวนิช ซึ่งมีศักดิ์เป็นเหลนของขุนพิทักษ์ เล่าว่ามีบันทึกในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในการเสด็จประพาสต้นลำน้ำคลองมะขามเฒ่า ได้กล่าวถึงช่วงหนึ่งว่าพระองค์ทรงเสด็จประพาสมาตามลำแม่น้ำน้อยนี้ และได้ทรงประทับที่บ้านของนางจ่าง มิลินทวนิช ซึ่งก็คือภรรยาของขุนพิทักษ์ฯ นายชัยกร นิยมไกร ชาวบ้านที่อยู่ฝั่งตรงข้ามบ้านขุนพิทักษ์ฯ กล่าวว่าบิดาของตนเคยเล่าให้ฟังว่าขุนพิทักษ์เป็นคนยิ่งใหญ่พอสมควร สมัยที่ขุนพิทักษ์ฯมีชีวิตอยู่ ได้จัดทอดกฐินและแข่งเรืออย่างใหญ่โตทุกปี ในวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 12 (วันงานไหว้วัดอมฤต)
ห่างจากบ้านขุนพิทักษ์ประมาณ 1 กิโลเมตร มี "บ้านตึก" ซึ่งเป็นบ้านโบราณอยู่ริมแม่น้ำน้อยเช่นกัน อีก 1 หลัง ซึ่งเป็นบ้านของขุนวารีโยธารักษ์ นายอำเภอคนแรกของอำเภอผักไห่ (สมัยนั้นเรียกว่าอำเภอเสนาใหญ่) สมัยรัชกาลที่ 5 เคยใช้เป็นที่ว่าการอำเภอเสนาใหญ่ และออกว่าความตัดสินคดี มีการจองจำนักโทษที่เรือนด้านหลัง (รื้อถอนไปแล้ว) เรือนใหญ่ที่ชาวบ้านเรียกว่าบ้านตึกนี้ เป็นบ้านไม้ชั้นเดียวยกพื้นสูง ในเนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน 18 ตารางวา หลังคาทรงปั้นหยา มีลวดลายแกะสลักสวยงาม ชั้นล่างมีการก่ออิฐล้อมเป็นผนังแบ่งเป็นช่อง ๆ คล้ายกำแพง ปัจจุบันบ้านตึกอยู่ในที่ดินโฉนดของนางย้อย วิภาตะศิลปิน บุตรของขุนวารีโยธารักษ์
ปัจจุบันบ้านขุนพิทักษ์บริหาร เป็นที่สนใจของประชาชนทั่วไป สื่อมวลชนหลายแขนงได้เผยแพร่ข่าว เช่นรายการที่นี่ประเทศไทย ทางโทรทัศน์ช่อง 5 แต่ที่หนังสือพิมพ์เดลินิวส์และรายการมิติลี้ลับทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 ออกข่าวว่าบ้านหลังนี้มีวิญญาณ มีภูติผีปีศาจ
แต่ถึงกระนั้น ผู้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับญาติพี่น้องขุนพิทักษ์ฯไม่เชื่อว่าบ้านหลังนี้จะมีภูติผีปีศาจ เพราะไม่ปรากฏว่าเคยมีผู้เสียชีวิตในเรือนท่านขุน และท่านขุนเป็นคนใจดี ไม่มีศัตรู ทอดกฐินทุกปี ทำประโยชน์เอาไว้มากมาย
ที่มา : kchiwit.com
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น