ผีเข้าคน เรื่องเล่าจากสมัยพุทธกาล
ร้อยตำรวจเอก ภูริทัตต์ ภูริทัตตานนท์ว่า ตำรวจเป็นที่พึ่งของประชาชน ต้องรับมือได้ทุกรูปแบบ อย่างคราวนี้ได้รับแจ้งว่ามีหญิงสาวในชุดขาวแสดงการผิดปกติ มีอารมณ์คลุ้มคลั่งเข้าไปก่อความวุ่นวายในบ้านของชาวต่างชาติ
เริ่มแรกต้องใช้การเจรจากับเธอก่อน เพราะทราบข้อมูลเบื้องต้นมาว่าเธอมีอาการผิดปกติ เมื่อเจรจาแล้วไม่สำเร็จ เพื่อเรียกขวัญกำลังใจ และบวกกับความเชื่อส่วนตัวจึงคิดว่าพระพุทธคุณของพระพุทธเจ้าคงช่วยได้จึงสวดบท "ปฏิจจสมุปบาท" แล้วเธอก็สงบลง
ต่อมาเกิดเหตุพระภิกษุถูกผีเข้าอีก พระภิกษุพยายามฆ่าพระภิกษุรูปนั้นด้วยความตั้งใจ พอฆ่าแล้วก็กระวนกระวายว่าตนจะอาบัติไหม พระพุทธเจ้าตรัสบัญญัติว่า หากตั้งใจฆ่าเป็นอาบัติปาราชิก
พระภิกษุรูปหนึ่งถูกผีเข้า พระภิกษุรูปอื่นพยายามฆ่า แต่ฆ่าไม่สำเร็จ พระพุทธเจ้าตรัสบัญญัติว่า เธอตั้งใจฆ่า แต่ฆ่าไม่สำเร็จยังไม่ผิดศีล ไม่หลุดจากการเป็นภิกษุ แต่เธอมีเจตนาดังนั้นจึงต้องโทษระดับอาบัติถุลลัจจัย (พระภิกษุรูปนั้นกระทำผิด แต่ยอมรับแล้วว่าจะไม่ทำอีก เป็นอาบัติขั้นเบา)
ในอรรถกถาบอกวิธีขับไล่ผีที่เข้าสิงคนไว้ว่า "พึงเอาใบตาลหรือเส้นด้ายพระปริตรผูกไว้ที่มือหรือเท้า พึงสวดพระปริตรทั้งหลายมีรัตนสูตรเป็นต้น"
ฉะนั้นการสวดพระปริตรสามารถช่วยขับไล่ผีได้ พระปริตรนิยมเรียกอีกอย่างว่า "ตำนาน" อาจคุ้นกับคำว่า " 12 ตำนาน" และ "17 ตำนาน" ตำนานในที่นี้ไม่ใช่ตำนานที่ใช้สำหรับเรื่องเล่าหรือนิทานที่เล่ากันมาหลายร้อยปี แต่มาจากคำว่า "ตาณะ" หมายถึง "เครื่องต้านทาน" ส่วนพระปริตรนั้นหมายถึง "ปกป้องคุ้มครอง" ฉะนั้น พระปริตร ซึ่งประกอบด้วย บทสวดทั้งหมด 12 บท สวดเพื่อปกป้อง คุ้มครอง และต้านทานสิ่งอัปมงคลและภัยทั้งปวง