พิธีแก้กรรม
พิธีแก้กรรม หรือพิธีสะเดาะเคราะห์ เป็นการทำพิธีตามความเชื่อว่าสามารถเสริมดวงชะตา มักพูดรวมกับการต่ออายุหรือแก้ไขสิ่งที่เลวร้ายให้กลายเป็นดี
ผู้นิยมทำพิธีนี้เพื่อให้ชีวิตและความเป็นอยู่ดีขึ้น มักจะเป็นคนที่ประสบเหตุการณ์ร้ายแรงต่างๆ เช่น งานมีอุปสรรค การเงินขัดข้อง เจ็บป่วยบ่อยครั้ง ปัจจุบันพิธีแก้กรรมยังมีผู้ให้ความสนใจนิยมปฏิบัติอยู่
การแก้กรรมนิยมทำพิธีในช่วงเช้า โดยนิมนต์พระสงฆ์ 9 รูป สวดเจริญพระพุทธมนต์
ผู้เข้าร่วมพิธีมักจะสวมชุดขาว นำเครื่องสักการะดอกไม้ ธูปเทียน และอื่นๆมาด้วย เริ่มจากจุดธูปเทียนบูชาพระ ก่อนที่พระสงฆ์จะนำด้ายสายสิญจน์มาถือหรือมัดไว้ที่ศีรษะผู้เข้าร่วมพิธี มีการสวดพระคาถาสะเดาะเคราะห์ ที่มีกำหนดตามอายุหรือตามกำลังวัน ก่อนจะประกอบพิธีบังสุกุลตายและบังสุกุลเป็น บางครั้งพระสงฆ์จะประพรมนํ้ามนต์หรืออาบนํ้ามนต์ให้ด้วย แต่ละวัดอาจจะใช้อุปกรณ์ประกอบพิธีแก้กรรมแตกต่างกันไป เช่น หอยสังข์ ร่ม ข้าวสาร ฯลฯ
นอกจากนี้พิธีแก้กรรมสะเดาะเคราะห์ โดยส่วนใหญ่นิยมทำในโอกาสสำคัญๆ เช่น
1.สะเดาะเคราะห์วันเกิด เป็นการแก้เคราะห์ร้ายให้กลายเป็นดี เชื่อว่าช่วยเสริมดวงชะตาตัวเองด้วยดวงชะตาของตัวเอง
2.สะเดาะเคราะห์วันสำคัญของชาติ เป็นการอัญเชิญอานุภาพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตลอดจนพระบารมีของพระมหากษัตริย์และเทพาอารักษ์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ ให้มาช่วยขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายหรือเรื่องเลวร้ายที่เกิดขึ้น รักษาและคุ้มครองบ้านเมืองให้มีแต่ความสุขสมร่มเย็น
3.สะเดาะเคราะห์วันสงกรานต์ นิยมทำพร้อมกับการทำบุญอุทิศให้บรรพบุรุษ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายายที่เสียชีวิตแล้ว ให้ท่านเหล่านั้นอำนวยอวยพรขับไล่เสนียดจัญไร
4.สะเดาะเคราะห์วันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เพื่อแก้ไขสิ่งที่ไม่ดีในหนึ่งปีที่ผ่านมาให้ดีขึ้น เพิ่มความดีให้กับดวงและเสริมสง่าราศี ให้ชีวิตประสบความสำเร็จ โดยเชื่อกันว่าเมื่อเริ่มต้นได้ดี ก็จะทำให้ชีวิตมีความสุข และประสบความสำเร็จในทุกๆ ด้านตลอดทั้งปีต่อไป
พิธีแก้กรรมบางภาคอาจมีลักษณะที่แตกต่างออกไป เช่นการจัดหาเครื่องสักการะและอุปกรณ์ต่างๆ มาประกอบในพิธี
ไม่ว่าจะเป็นการค้ำโพธิ์ค้ำไทรของภาคกลาง หรือที่ภาคเหนือและภาคอีสานเรียกว่าค้ำโพธิ์ค้ำไฮ ในการทำพิธีแก้กรรม หลายวัดจะสั่งสอนเพื่อให้เกิดความเข้าใจให้ถูกต้องด้วยว่า "เคราะห์" คือกรรมชั่วหรือบาปที่เคยทำไว้และตามมาเห็นผลในปัจจุบัน ทำให้ประสบกับชะตากรรม อันเลวร้ายเป็นทุกข์ ส่วน "โชค" คือบุญหรือความดี ที่ทำมาแต่อดีตตามมาให้ผลทันในปัจจุบัน ทำให้ชีวิตนี้มีแต่ความสุข ประสบแต่ความสำเร็จ และย้ำให้จำขึ้นใจว่า การสะเดาะเคราะห์คือการแก้กรรม โดยวิธีการละชั่วคือแก้กรรมใหม่ หันมาทำแต่กรรมดีพร้อมกับรักษาความดีเอาไว้ให้ได้
รวมทั้งหมั่นชำระล้างจิตใจให้สะอาด ไม่มีสิ่งที่จะมาทำให้เศร้าหมองอีกต่อไป จึงจะเป็นการแก้กรรมต่อชะตาได้อย่างแท้จริง
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลดี ๆ จาก
เว็บไซด์หนังสือพิมพ์ข่าวสด
ผู้นิยมทำพิธีนี้เพื่อให้ชีวิตและความเป็นอยู่ดีขึ้น มักจะเป็นคนที่ประสบเหตุการณ์ร้ายแรงต่างๆ เช่น งานมีอุปสรรค การเงินขัดข้อง เจ็บป่วยบ่อยครั้ง ปัจจุบันพิธีแก้กรรมยังมีผู้ให้ความสนใจนิยมปฏิบัติอยู่
การแก้กรรมนิยมทำพิธีในช่วงเช้า โดยนิมนต์พระสงฆ์ 9 รูป สวดเจริญพระพุทธมนต์
ผู้เข้าร่วมพิธีมักจะสวมชุดขาว นำเครื่องสักการะดอกไม้ ธูปเทียน และอื่นๆมาด้วย เริ่มจากจุดธูปเทียนบูชาพระ ก่อนที่พระสงฆ์จะนำด้ายสายสิญจน์มาถือหรือมัดไว้ที่ศีรษะผู้เข้าร่วมพิธี มีการสวดพระคาถาสะเดาะเคราะห์ ที่มีกำหนดตามอายุหรือตามกำลังวัน ก่อนจะประกอบพิธีบังสุกุลตายและบังสุกุลเป็น บางครั้งพระสงฆ์จะประพรมนํ้ามนต์หรืออาบนํ้ามนต์ให้ด้วย แต่ละวัดอาจจะใช้อุปกรณ์ประกอบพิธีแก้กรรมแตกต่างกันไป เช่น หอยสังข์ ร่ม ข้าวสาร ฯลฯ
นอกจากนี้พิธีแก้กรรมสะเดาะเคราะห์ โดยส่วนใหญ่นิยมทำในโอกาสสำคัญๆ เช่น
1.สะเดาะเคราะห์วันเกิด เป็นการแก้เคราะห์ร้ายให้กลายเป็นดี เชื่อว่าช่วยเสริมดวงชะตาตัวเองด้วยดวงชะตาของตัวเอง
2.สะเดาะเคราะห์วันสำคัญของชาติ เป็นการอัญเชิญอานุภาพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตลอดจนพระบารมีของพระมหากษัตริย์และเทพาอารักษ์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ ให้มาช่วยขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายหรือเรื่องเลวร้ายที่เกิดขึ้น รักษาและคุ้มครองบ้านเมืองให้มีแต่ความสุขสมร่มเย็น
3.สะเดาะเคราะห์วันสงกรานต์ นิยมทำพร้อมกับการทำบุญอุทิศให้บรรพบุรุษ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายายที่เสียชีวิตแล้ว ให้ท่านเหล่านั้นอำนวยอวยพรขับไล่เสนียดจัญไร
4.สะเดาะเคราะห์วันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เพื่อแก้ไขสิ่งที่ไม่ดีในหนึ่งปีที่ผ่านมาให้ดีขึ้น เพิ่มความดีให้กับดวงและเสริมสง่าราศี ให้ชีวิตประสบความสำเร็จ โดยเชื่อกันว่าเมื่อเริ่มต้นได้ดี ก็จะทำให้ชีวิตมีความสุข และประสบความสำเร็จในทุกๆ ด้านตลอดทั้งปีต่อไป
พิธีแก้กรรมบางภาคอาจมีลักษณะที่แตกต่างออกไป เช่นการจัดหาเครื่องสักการะและอุปกรณ์ต่างๆ มาประกอบในพิธี
ไม่ว่าจะเป็นการค้ำโพธิ์ค้ำไทรของภาคกลาง หรือที่ภาคเหนือและภาคอีสานเรียกว่าค้ำโพธิ์ค้ำไฮ ในการทำพิธีแก้กรรม หลายวัดจะสั่งสอนเพื่อให้เกิดความเข้าใจให้ถูกต้องด้วยว่า "เคราะห์" คือกรรมชั่วหรือบาปที่เคยทำไว้และตามมาเห็นผลในปัจจุบัน ทำให้ประสบกับชะตากรรม อันเลวร้ายเป็นทุกข์ ส่วน "โชค" คือบุญหรือความดี ที่ทำมาแต่อดีตตามมาให้ผลทันในปัจจุบัน ทำให้ชีวิตนี้มีแต่ความสุข ประสบแต่ความสำเร็จ และย้ำให้จำขึ้นใจว่า การสะเดาะเคราะห์คือการแก้กรรม โดยวิธีการละชั่วคือแก้กรรมใหม่ หันมาทำแต่กรรมดีพร้อมกับรักษาความดีเอาไว้ให้ได้
รวมทั้งหมั่นชำระล้างจิตใจให้สะอาด ไม่มีสิ่งที่จะมาทำให้เศร้าหมองอีกต่อไป จึงจะเป็นการแก้กรรมต่อชะตาได้อย่างแท้จริง
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลดี ๆ จาก
เว็บไซด์หนังสือพิมพ์ข่าวสด
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!