ผีป่า
" มัธยันต์" เล่าเรื่องขนหัวลุกของผีป่าและผีโขมด
ถึงแม้ผู้คนทั่วโลกจะเชื่อว่าผีมีจริง นอกจากจะชอบหลอกหลอนให้ขวัญหนีดีฝ่อแล้ว เผลอๆ ก็อาจตามจองล้างจองผลาญศัตรูคู่อาฆาตถึงกับล้มตายได้ แต่ดูเหมือนว่าภูตผีของชาติต่างๆ จะมีน้อยกว่าของไทยเราอย่างชนิดเทียบกันไม่ติด
"ผี" คือคำรวมๆ ที่เรียกคนตายแล้ว ไม่ว่าจะตายแบบไหนก็ตาม แต่คนไทยจะแยกแยะประเภทของคนตายให้เห็นภาพชัดเจนว่าตายเพราะอะไร
คนที่แก่เฒ่าหรือเจ็บไข้ได้ป่วยตายตามปกติก็เรียกว่า "ผี" บางท้องถิ่นเรียกการไปเผาศพว่า "ไปเผาผี" ตรงกับสำนวนไทยที่เอ่ยถึงคนที่ตนเกลียดชังว่า "ผีไม่เผา เงาไม่เหยียบ" คือผูกใจเจ็บจนไม่ยอมให้อภัย แม้ว่าจะล้มหายตายจากไปแล้วก็ตาม
คนที่ตายเพราะโดนฆ่าบ้าง อุบัติเหตุบ้าง จงใจฆ่าตัวตายว่า ถือว่าเป็นการตายผิดปกติ หรือตายก่อนจะสิ้นอายุขัย ก็จะเรียกขานกันว่า "ผีตายโหง"
ผู้หญิงคลอดลูกตายทั้งแม่ทั้งลูกเรียกว่า "ตายทั้งกลม"
สมัยก่อนมีโรคอหิวาต์ระบาดบ่อยๆ ทำให้ผู้คนที่ล้มตายคราวละนับพันนับหมื่นเรียกว่า โรค "ห่าลง" คนที่ตายเพราะโรคนี้จึงเรียกว่า "ตายห่า" ซึ่งนิยมมาสบถสาบานให้คล้องจองกันว่า "ให้ตายโหง-ตายห่า" ซึ่งใช้ทั้งการแช่งตัวเองบ้าง แช่งผู้อื่นบ้าง หรือไม่ก็หัวเสียจนหลุดปากออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจบ้าง
"ผีป่า" เป็นผีอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งออกจะตีความได้หลายแง่หลายมุม แล้วแต่ความเชื่อถือของแต่ละบุคคล หรือไม่ก็ตามแต่สถานการณ์ ซึ่งยังไม่มีข้อสรุปแน่นอนว่าเป็นผีชนิดไหนกันแน่?
เป็นคนที่ล้มตายในป่าดง หรือเป็นภูตผีที่สิงสู่อยู่ในป่าดิบดงดำนั้นมาเนิ่นนานแล้ว
ผีชนิดแรกพอจะเข้าใจได้กว้างๆ แต่มีปัญหาว่าผีชนิดหลังมาจากไหนกัน?
มีความเชื่อถือมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์แล้วว่า ทุกหนทุกแห่งล้วนแต่มีภูตผีสิงสู่ ครอบครองอยู่ก่อนแล้ว นิยมเรียกขานกันว่า "เจ้าที่เจ้าทาง" ขนาดบ้านช่องในเมืองน้อยใหญ่ยังตั้งศาลพระภูมิเพื่อให้เจ้าที่มีร่มไม้ชายคาอยู่ มีเครื่องเซ่นให้กินเป็นประจำ
นอกจากจะต้องการให้เจ้าที่คุ้มครองคนในบ้านแล้ว ยังเป็น รปภ.ดูแลบ้านช่องคอยจับวิญญาณร่อนเร่หรือสัมภเวสี ผีไม่มีศาล ไม่ให้เข้ามาบุกรุกหรือจุ้นจ้านในเขตบ้านเรือนได้โดยง่าย
ป่าดง ภูเขา แม่น้ำลำธาร ล้วนแต่เชื่อว่ามีเจ้าที่เจ้าทางสิงสู่อยู่ทั้งนั้น!
ต้นไม้ใหญ่ๆ เช่น ต้นโพธิ์ ตันไทร ต้นรัง ฯลฯ ก็ย่อมมีผีอาศัยอยู่ทุกต้น แต่เรียกว่า "รุกขเทวา" เป็นการยกย่องให้เกียรติกันไว้ก่อน
ต้นไม้เหล่านี้ไม่นิยมนำมาปลูกไว้ในเขตบ้าน เพราะคนอยู่อาศัยซึ่งเป็นปุถุชนธรรมดา อาจจะขุ่นมัวโกรธเคืองจนถึงกับด่าทอกัน ถ้อยคำหยาบช้าล่องลอยไประคายโสตรุกขเทวาเข้า เดี๋ยวท่านรำคาญหรือโกรธกริ้ว ก็จะลงโทษให้เดือดร้อนกันทั้งบ้านก็เป็นได้ จึงนิยมปลูกไว้เขตวัดซึ่งถือว่าบริสุทธิ์สะอาดกว่าเขตบ้าน
"ผีป่า" ชนิดแรกคือคนเข้าไปตายในป่าด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น เข้าป่าล่าสัตว์บ้าง หาพืชผักหรือสมุนไพรบ้าง แต่เกิดเจ็บป่วยล้มตายลงก็มี ถูกงูกัด เสือขย้ำกินก็มาก...หรือแม้แต่พลาดพลั้งหล่นเขา ตกเหวตายก็ไม่น้อย
ส่วนมากญาติหรือลูกเมียทางบ้านไม่ค่อยรู้ข่าวเพราะหายสาบสูญไปเฉยๆ ไม่รู้จะไปตามหาที่ไหน บางรายเข้าไปหาก็ไม่พบ จะมีเจอะเจอบ้างก็น้อยรายเต็มที
คนไทยเชื่อเรื่องการทำศพ บำเพ็ญกุศลตามประเพณี ไหนจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ตายอีกต่างหาก แต่เมื่อ "ผีป่า" เหล่านั้นตายไปแบบสาบสูญ ไม่มีใครรู้ว่าเป็นตายอย่างไรแน่ จึงมักจะไม่มีการทำบุญแผ่กุศลไปให้ กลายเป็นผีอดอยากปากแห้ง ต้องปรากฏกายออกขอส่วนบุญกับคนเป็นๆ ซึ่งมักจะวิ่งหนีเพราะความหวาดกลัว ยกเว้นแต่พระธุดงค์ หรือผู้ไปบำเพ็ญธรรมในป่าเท่านั้นจึงจะช่วยเหลือได้
"ผีป่า" นั้นเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "ผีโขมด" ต่อมาได้แยกเป็น "โขมดป่าโขมดดง" ส่วนจะมีรายละเอียดวิจิตรพิสดารประการใด ผู้เขียนจะได้มาเรียบเรียงให้ท่านผู้อ่านได้รับทั้งสาระและความบันเทิงต่อไป
ขอบคุณเรื่องเล่าจากข่าวสด
ถึงแม้ผู้คนทั่วโลกจะเชื่อว่าผีมีจริง นอกจากจะชอบหลอกหลอนให้ขวัญหนีดีฝ่อแล้ว เผลอๆ ก็อาจตามจองล้างจองผลาญศัตรูคู่อาฆาตถึงกับล้มตายได้ แต่ดูเหมือนว่าภูตผีของชาติต่างๆ จะมีน้อยกว่าของไทยเราอย่างชนิดเทียบกันไม่ติด
"ผี" คือคำรวมๆ ที่เรียกคนตายแล้ว ไม่ว่าจะตายแบบไหนก็ตาม แต่คนไทยจะแยกแยะประเภทของคนตายให้เห็นภาพชัดเจนว่าตายเพราะอะไร
คนที่แก่เฒ่าหรือเจ็บไข้ได้ป่วยตายตามปกติก็เรียกว่า "ผี" บางท้องถิ่นเรียกการไปเผาศพว่า "ไปเผาผี" ตรงกับสำนวนไทยที่เอ่ยถึงคนที่ตนเกลียดชังว่า "ผีไม่เผา เงาไม่เหยียบ" คือผูกใจเจ็บจนไม่ยอมให้อภัย แม้ว่าจะล้มหายตายจากไปแล้วก็ตาม
คนที่ตายเพราะโดนฆ่าบ้าง อุบัติเหตุบ้าง จงใจฆ่าตัวตายว่า ถือว่าเป็นการตายผิดปกติ หรือตายก่อนจะสิ้นอายุขัย ก็จะเรียกขานกันว่า "ผีตายโหง"
ผู้หญิงคลอดลูกตายทั้งแม่ทั้งลูกเรียกว่า "ตายทั้งกลม"
สมัยก่อนมีโรคอหิวาต์ระบาดบ่อยๆ ทำให้ผู้คนที่ล้มตายคราวละนับพันนับหมื่นเรียกว่า โรค "ห่าลง" คนที่ตายเพราะโรคนี้จึงเรียกว่า "ตายห่า" ซึ่งนิยมมาสบถสาบานให้คล้องจองกันว่า "ให้ตายโหง-ตายห่า" ซึ่งใช้ทั้งการแช่งตัวเองบ้าง แช่งผู้อื่นบ้าง หรือไม่ก็หัวเสียจนหลุดปากออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจบ้าง
"ผีป่า" เป็นผีอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งออกจะตีความได้หลายแง่หลายมุม แล้วแต่ความเชื่อถือของแต่ละบุคคล หรือไม่ก็ตามแต่สถานการณ์ ซึ่งยังไม่มีข้อสรุปแน่นอนว่าเป็นผีชนิดไหนกันแน่?
เป็นคนที่ล้มตายในป่าดง หรือเป็นภูตผีที่สิงสู่อยู่ในป่าดิบดงดำนั้นมาเนิ่นนานแล้ว
ผีชนิดแรกพอจะเข้าใจได้กว้างๆ แต่มีปัญหาว่าผีชนิดหลังมาจากไหนกัน?
มีความเชื่อถือมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์แล้วว่า ทุกหนทุกแห่งล้วนแต่มีภูตผีสิงสู่ ครอบครองอยู่ก่อนแล้ว นิยมเรียกขานกันว่า "เจ้าที่เจ้าทาง" ขนาดบ้านช่องในเมืองน้อยใหญ่ยังตั้งศาลพระภูมิเพื่อให้เจ้าที่มีร่มไม้ชายคาอยู่ มีเครื่องเซ่นให้กินเป็นประจำ
นอกจากจะต้องการให้เจ้าที่คุ้มครองคนในบ้านแล้ว ยังเป็น รปภ.ดูแลบ้านช่องคอยจับวิญญาณร่อนเร่หรือสัมภเวสี ผีไม่มีศาล ไม่ให้เข้ามาบุกรุกหรือจุ้นจ้านในเขตบ้านเรือนได้โดยง่าย
ป่าดง ภูเขา แม่น้ำลำธาร ล้วนแต่เชื่อว่ามีเจ้าที่เจ้าทางสิงสู่อยู่ทั้งนั้น!
ต้นไม้ใหญ่ๆ เช่น ต้นโพธิ์ ตันไทร ต้นรัง ฯลฯ ก็ย่อมมีผีอาศัยอยู่ทุกต้น แต่เรียกว่า "รุกขเทวา" เป็นการยกย่องให้เกียรติกันไว้ก่อน
ต้นไม้เหล่านี้ไม่นิยมนำมาปลูกไว้ในเขตบ้าน เพราะคนอยู่อาศัยซึ่งเป็นปุถุชนธรรมดา อาจจะขุ่นมัวโกรธเคืองจนถึงกับด่าทอกัน ถ้อยคำหยาบช้าล่องลอยไประคายโสตรุกขเทวาเข้า เดี๋ยวท่านรำคาญหรือโกรธกริ้ว ก็จะลงโทษให้เดือดร้อนกันทั้งบ้านก็เป็นได้ จึงนิยมปลูกไว้เขตวัดซึ่งถือว่าบริสุทธิ์สะอาดกว่าเขตบ้าน
"ผีป่า" ชนิดแรกคือคนเข้าไปตายในป่าด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น เข้าป่าล่าสัตว์บ้าง หาพืชผักหรือสมุนไพรบ้าง แต่เกิดเจ็บป่วยล้มตายลงก็มี ถูกงูกัด เสือขย้ำกินก็มาก...หรือแม้แต่พลาดพลั้งหล่นเขา ตกเหวตายก็ไม่น้อย
ส่วนมากญาติหรือลูกเมียทางบ้านไม่ค่อยรู้ข่าวเพราะหายสาบสูญไปเฉยๆ ไม่รู้จะไปตามหาที่ไหน บางรายเข้าไปหาก็ไม่พบ จะมีเจอะเจอบ้างก็น้อยรายเต็มที
คนไทยเชื่อเรื่องการทำศพ บำเพ็ญกุศลตามประเพณี ไหนจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ตายอีกต่างหาก แต่เมื่อ "ผีป่า" เหล่านั้นตายไปแบบสาบสูญ ไม่มีใครรู้ว่าเป็นตายอย่างไรแน่ จึงมักจะไม่มีการทำบุญแผ่กุศลไปให้ กลายเป็นผีอดอยากปากแห้ง ต้องปรากฏกายออกขอส่วนบุญกับคนเป็นๆ ซึ่งมักจะวิ่งหนีเพราะความหวาดกลัว ยกเว้นแต่พระธุดงค์ หรือผู้ไปบำเพ็ญธรรมในป่าเท่านั้นจึงจะช่วยเหลือได้
"ผีป่า" นั้นเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "ผีโขมด" ต่อมาได้แยกเป็น "โขมดป่าโขมดดง" ส่วนจะมีรายละเอียดวิจิตรพิสดารประการใด ผู้เขียนจะได้มาเรียบเรียงให้ท่านผู้อ่านได้รับทั้งสาระและความบันเทิงต่อไป
ขอบคุณเรื่องเล่าจากข่าวสด
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!