สัปเหร่อ


สัปเหร่อ



หนังสือ "ประเพณีเนื่องในการตาย" โดย พระยาอนุมานราชธน

มีข้อสันนิษฐานถึงคำ "สัปเหร่อ" ว่า น่าจะมาจากคำว่า สัปบุรุษ แปลว่าคนดี ซึ่งคำนี้ภาษาเขมรออกเสียงว่า สัปเหร่อ

สำหรับความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2546 สัปเหร่อ (สับ-ปะ-เหร่อ) แปลว่าผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับศพ ตั้งแต่ทำพิธีมัดตราสัง จนกระทั่งนำศพลงฝังหรือเผา

และจากงานวิจัยของ ทวีศักดิ์ วรฤทธิ์เรืองอุไร

เรื่อง "สัปเหร่อกับการจัดการศพของชุมชน" ที่เสนอต่อคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า

สัปเหร่อคือผู้ที่ทำหน้าที่แปรสภาพสังขารร่างกายของคนที่ตายไปแล้วให้สูญสลายไปจากโลกอย่างสิ้นเชิง โดยการฝังซากศพไปในดิน หรือเผาให้มอดไหม้ด้วยไฟ โดยอาจมีวิธีเฉพาะ

คำว่าสัปเหร่ออาจอยู่คู่กับสังคมมนุษย์มาช้านาน

เนื่องจากการตายนั้นเป็นสิ่งปกติของคนเรา หน้าที่หลักของสัปเหร่อเริ่มจากเตรียมเมรุเผาศพ

โดยจะกวาดเถ้ากระดูกของศพที่เผาก่อนหน้าเพื่อไม่ให้ปะปนกับศพที่กำลังจะเผา และขอซื้อที่จากเทวดาเจ้าที่ชื่อ "ตากะลี ยายกะลา"

ก่อนการเผา สัปเหร่อจะเปิดโลง

และตัดด้ายที่มัดมือมัดเท้าของศพ จากนั้นล้างหน้าศพด้วยน้ำมะพร้าว เมื่อญาติๆ ผู้ตายช่วยกันเคลื่อนศพไปสู่เมรุแล้ว

สัปเหร่อก็จะดำเนินการเผาตามขั้นตอน กินเวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมงจึงแล้วเสร็จ สามารถเก็บกระดูกให้ญาติพี่น้องที่รอรับอยู่

ในการปฏิบัติหน้าที่สัปเหร่อต้องมีจรรยาที่สำคัญ

คือการไม่เลือกปฏิบัติ ต้องเผาศพให้เจ้าภาพทุกรายโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง และจะต้องทำหน้าที่ด้วยความเป็น "มืออาชีพ"

คือทำด้วยความรับผิดชอบและเรียบร้อยทุกขั้นตอน นับตั้งแต่การทำความสะอาดเตาเผาในการเตรียมเมรุจนถึงการเก็บกระดูก

บทบาทหน้าที่ของสัปเหร่อในสมัยก่อน

ที่ยังมีการเผาศพแบบเชิงตะกอน คนที่สามารถเผาศพได้จะมีอยู่หลายคน ในการเผาแต่ละครั้งจะมีชาวบ้านไปช่วยกันประมาณ 10 คน

แต่เมื่อมีการเปลี่ยนเตาเผาจากเชิงตะกอนมาเป็นเตาเผาแบบปิด คือเมรุ การจำกัดตัวบุคคลผู้รับหน้าที่เผาศพก็เกิดขึ้น

เนื่องจากเมรุเป็นสมบัติที่มีราคาแพงของวัด

คนที่จะมาดูแลเมรุจึงไม่ใช่ใครก็ได้ แต่ต้องเป็นคนที่เจ้าอาวาสและชาวบ้านยอมรับ การมีเมรุจึงนับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้สถานะของสัปเหร่อชัดเจนขึ้น

ราชการกำหนดหน้าที่สัปเหร่อเป็นงานประเภทที่ 5 คือพนักงานบริการ และพนักงานขายในร้านค้าและตลาด

ในหมวด 51 คือเป็นพนักงานให้บริการในเรื่อง

ส่วนบุคคลและบริการด้านการป้องกันภัย กำหนดเป็น "สัปเหร่อและเจ้าหน้าที่ฉีดยาศพ"

ทำหน้าที่จัดการเผาศพและฝังศพ รักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยด้วยการฉีดสารเคมีในร่างศพ รวมถึงการทำพิธีต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการศพ




แหล่งที่มา:


เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์