โดยปกติแล้ว ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ CO2 นั้นจะหนักกว่าอากาศ เมื่อมันถูกปล่อยออกมา ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์จะกดลงต่ำ ทำให้ก๊าซออกซิเจนลอยสูงขึ้น ทำให้สิ่งมีชีวิตบริเวณนั้นไม่มีอากาศหายใจ
ผู้เชี่ยวชาญสรุปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อสองปีก่อนที่ทะเลสาปโมนูนว่า เกิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่ระเหยออกมาจากแม็กม่าใต้โลกและซึมปนกับน้ำบริเวณก้นทะเลสาป โดยปกติแล้ว เมื่อก๊าซระเหยมา มันควรจะลอยขึ้นมากับน้ำและระเหยไปในอากาศ แต่ที่ทะเลสาปโมนูน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์นั้นไม่ลอยขึ้นมา เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่า สาเหตุที่มันไม่ลอยขึ้นมานั้น เนื่องเพราะความลึกของทะเลสาป ส่งผลให้ความดันของน้ำมีมากพอจะกดก๊าซเหล่านี้ให้จมอยู่ใต้น้ำเป็นร้อยๆปี นอกจากนี้ ตำแหน่งที่ตั้งของทะเลสาปเหล่านี้ อยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร อุณหภูมินั้นสม่ำเสมอทั้งปี และลักษณะภูมิประเทศทำให้ทะเลสาปนิ่งสนิท ส่งผลให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่อยู่ใต้ทะเลสาปลึกนั้นถูกสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ
จนกระทั่งเมื่อมีอะไรไปกระตุ้น ทำให้ก๊าซเหล่านี้ลอยขึ้นมาสู่พื้นผิวและระเบิดสู่พื้นที่ใกล้เคียง ทำให้บริเวณนั้นไม่มีอ็อกซิเจนในทันทีทันใดไปชั่วขณะหนึ่ง
ย้อนกลับมาที่เหตุการณ์ที่ทะเลสาปนีโยส เมื่อเปรียบเทียบกับเหตุการณ์เมื่อสองปีก่อนแล้ว ผู้เชี่ยวชาญต่างสรุปว่า การเสียชีวิตของชาวบ้านในเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจากสาเหตุเดียวกัน แต่ที่ยังหาคำตอบไม่ได้ก็คือ อะไรไปกระตุ้นให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์จำนวนมหาศาลในทะเลสาปแห่งนี้ลอยขึ้นสู่ผิวน้ำอย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ตาม จากคำบอกเล่าของชาวบ้านผู้รอดชีวิต ที่เล่าว่าได้ยินเสียงระเบิดดังกึกก้อง ทางผู้เชี่ยวชาญจึง ‘สันนิษฐาน' ว่า อาจมีก้อนหินขนาดใหญ่ตกจากภูเขาด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม และตกลงสู่ก้นทะเลสาปนีโยส ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของน้ำในทะเลสาปและทำให้บรรดาก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่สะสมมาเป็นร้อยๆปีใต้ทะเลสาป ลอยขึ้นมาและกระจายไปทั่วบริเวณไปในทันที
ว่ากันว่า ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่ระเบิดในวันนี้มีปริมาณมากถึง 1.2 ลูกบาศก์กิโลเมตรเลยทีเดียว
ปัจจุบันนี้ ผู้เชี่ยวชาญได้หาทางแก้ปัญหานี้ที่อาจจะทำให้เกิดโศกนาฏกรรมขึ้นอีกในอนาคต โดยการสร้างท่อต่อลงไปที่ก้นทะเลสาป เพื่อระบายเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ให้ลอยขึ้นมาสู่ผิวน้ำ ไม่ให้สะสมตัวมากจนเกินไป