คนโบราณจึงนำโบราณอุบายมาขู่ เพื่อสอนให้ลูกสาวรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบและรู้กาลอันควรแก่การนอน เพราะว่าถ้าปล่อยให้ลูกหลานนอนหลับยาวไปจนค่ำก็จะเป็นการสร้างลักษณะนิสัยที่ไม่ดีให้กับลูกหลาน เพราะหากไม่ฝึกให้ช่วยพ่อ แม่ พี่น้อง หุงหาอาหาร ทำกับข้าว กวาดบ้าน ถูบ้าน หรือช่วยงานอื่น ๆ ตามแต่วัยและเพศของบุตรหลาน ต่อไปก็จะกลายเป็นคนขี้เกียจสันหลังยาวได้ ข้อสำคัญ การนอนช่วงเวลากลางวันคร่อมกลางคืนตั้งแต่ตอนเย็นจนค่ำ อุณหภูมิอากาศจะเปลี่ยนแปลงจากกลางวันเข้าสู่กลางคืน ทำให้การนอนในช่วงเวลานั้นไม่ว่าจะเป็นเพศใดวัยใด ร่างกายปรับอุณหภูมิไม่ทัน อาจทำให้เมื่อตื่นขึ้นมาแล้ว ปวดหัว ไม่สบายเนื้อ สบายตัวต่างหากล่ะ
แล้วทำไมนอนกลางวัน ตื่นมาตอนเย็นๆแล้วปวดหัว?
หลายคนเป็นใช่ไหม? ที่นอนกลางวันแล้วตื่นมาเย็นไปเลย จะรู้สึกว่าปวดหัวหนึบๆ และบางคนก็ถึงกับมีไข้เลย คนโบราณเรียกว่า "ตะวันทับตา" เขาถึงบอกว่าอย่าไปนอนกลางวันยาวแล้วตื่นมาตอนเย็น
จริงๆมีคำอธิบายนะคะ ปกติแล้วการไหลเวียนเลือดของร่างกายและอุณหภูมิของร่างกายคนเราเนี่ยปรับ เปลี่ยนเล็กน้อย (ไม่เยอะมากเท่ากับสัตว์เลือดเย็น) ตามอุณหภูมิและแสงภายนอกค่ะ ร่างกายจะรับรู้ว่า แสงที่เริ่มอ่อนลง = อุณหภูมิเริ่มลดลง ก็จะขยายหลอดเลือดเพิ่มขึ้นให้เลือดไปเลี้ยงให้ร่างกายคงอุณหภูมิไว้พอดีๆ ได้ ทีนี้ร่างกายเรารับแสงจากไหน? ก็รับแสงด้วยตัวรับแสงจากตาไงคะ
ดังนั้นการลืมตา ก็จะรับแสงที่เข้ามาได้ จะส่งข้อมูลไปสมองได้ และสั่งการออกมาปรับโทนของหลอดเลือดตามเวลา ตามอุณหภูมิได้ค่ะ การหดขยายของหลอดเลือดถ้าค่อยเป็นค่อยไปไม่ค่อยมีปัญหาหรอกค่ะ
แต่การหลับยาว ตื่นมาอีกทีตอนแสงน้อยไปเลย หลับตอนบ่ายแสงจ้าๆ มาตื่นตอนเย็นๆแสงน้อยๆ เกิดอะไรขึ้น? ร่างกายก็ต้องรีบปรับโทนของหลอดเลือดทันทีทันใดเลย พอเส้นเลือดขยายทันทีทันใดก็เลยทำให้ปวดหัวหรือบางคนถึงกับมีไข้ได้เลย เพราะร่างกายถีบอุณหภูมิกายให้สูงขึ้นไปก่อนทันทีเลยไง
รู้อย่างนี้แล้ว ก็พยายามลดการนอนกลางวันดีกว่าค่ะ ถ้าจะหลับก็เอาแป๊ปเดียวพออย่าเกิน 20-30 นาทีเลยนะค่ะ